คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพทั่วไป

Posted on Category:Medical
ตรวจสุขภาพทั่วไป

การตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นส่วนสำคัญในการรักษาสุขภาพและตรวจหาปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าสภาวะที่เป็นอยู่นั้นได้รับการจัดการอย่างดี แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการตรวจสุขภาพทั่วไปนี้ คุณจำเป็นต้องเตรียมตัวบางอย่าง บทความนี้จะมาแนะนำวิธีที่คุณสามารถเตรียมตัวสำหรับการตรวจสุขภาพทั่วไปได้อย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด

รู้จักประวัติด้านสุขภาพของครอบครัว

การทำความเข้าใจประวัติสุขภาพของครอบครัวสามารถให้เบาะแสที่สำคัญแก่แพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ โรคบางชนิดมีความเชื่อมโยงทางพันธุกรรม เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็งบางชนิด ดังนั้นการทราบภูมิหลังด้านสุขภาพของครอบครัวสามารถช่วยให้แพทย์ระบุได้ว่าการตรวจใดที่จำเป็นสำหรับคุณ

รายการยาปัจจุบันของคุณ

ทำรายการยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ รวมถึงยาที่สั่งโดยแพทย์ ไม่ว่าจะวิตามินหรืออาหารเสริม หากคุณมีอาการแพ้ยา ควรจดบันทึกไว้ด้วยเพื่อความรวดเร็วในการตรวจสุขภาพทั่วไป

การรับประทานอาหาร

คุณอาจต้องอดอาหารเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนการตรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจเลือดที่เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพทั่วไป โดยมันอาจจะทำให้ผลการตรวจผิดเพี้ยนได้

นอนหลับให้เพียงพอ

ทำให้แน่ใจว่าคุณได้รับการนอนหลับสนิทและเพียงพอก่อนการตรวจสุขภาพทั่วไป เพราะความเหนื่อยล้าอาจทำให้ผลการทดสอบบางอย่างผิดพลาดได้

ดื่มน้ำให้มากๆ

จะช่วยในการตรวจเลือดโดยการทำให้เส้นเลือดของคุณพองตัว ทำให้แพทย์หรือพยาบาลหาเห็นเลือดได้ง่ายขึ้นและทำให้เจาะเลือดได้ง่าย

สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย

เลือกเสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ ที่ถอดได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังเข้ารับการทดสอบ เช่น เอ็กซเรย์ทรวงอก

เตรียมจิตใจให้พร้อม

เตรียมคำถามของคุณให้พร้อมสำหรับแพทย์ของคุณ นี่เป็นโอกาสของคุณที่จะจัดการกับข้อกังวลด้านสุขภาพหรืออาการที่คุณประสบอยู่ นอกจากนี้ ควรเข้าใจว่าการตรวจสุขภาพทั่วไปอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการตรวจครั้งแรกของคุณ เตรียมพร้อมสำหรับสิ่งนี้ และจำไว้ว่าการตรวจสุขภาพนี้มีไว้เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง

โดยสรุปแล้ว การตรวจสุขภาพทั่วไปเป็นส่วนสำคัญในการรักษาสุขภาพที่ดีและตรวจหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะรุนแรง เมื่อเตรียมตัวให้พร้อม คุณจะมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการตรวจสุขภาพทั่วไปนี้

ทำความรู้จักกับการผ่าตัดต้อกระจก

Posted on Category:Medical

สำหรับอาการป่วยด้วยโรคต้อกระจก เป็นสิ่งที่หลายๆ คนอาจจะกังวลอยู่ไม่มากก็น้อย ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากโรคต้อนี้อาจจะเกิดผลข้างเคียงหลายต่อหลายประการด้วยกัน อย่างไรก็ดีเมื่อคุณป่วยด้วยโรคต้อประเภทนี้แล้ว ควรทำการศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วนว่ามีสิ่งใดที่ควรใส่ใจและให้ความสำคัญบ้าง พร้อมแล้วมาดูกันเลย 

การผ่าตัดต้อกระจกมีแบบใดบ้าง 

1.การใช้เครื่องสลายต้อ 

สำหรับวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นการสลายต้อด้วยเครื่องสลายต้อ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมากของปัจจุบัน ด้วยการที่มีแผลสำหรับผ่าตัดที่กระจกตาเล็กขนาด 3 มิลลิเมตร โดยแพทย์จะทำการสอดเครื่องมือสลายต้อไปที่ตัวต้อกระจก และจากนั้นจะใช้พลังงานความถี่สูงในระดับอัลตร้าซาวน์เข้าไปสลายต้อจนหมด จากนั้นจึงค่อยใส่เลนส์ตาเทียมเข้าไปแทนที่ จะทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก และไม่ต้องเย็บแผลในคนไข้ส่วนใหญ่อีกด้วย 

2.การผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้าง 

อีกหนึ่งวิธีที่หลายๆ คนอาจจะรู้สึกสงสัยก็คือวิธีผ่าตัดแบบดั้งเดิมนั้นใช้ในกรณีที่ต้อสุกและแข็งมาก จนกระทั่งไม่เหมาะกับการสลายด้วยเครื่อง ซึ่งทางแพทย์จะมีการเปิดแผลที่บริเวณครึ่งบนของลูกตา โดยยาวประมาณสิบมิลลิเมตร เพื่อให้เอาตัวเลนส์แก้วตาที่เป็นกระจกแก้วตาออก จากนั้นใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่แล้วเย็บปิดแผลด้วยไหมเย็บแผล 

ป้องกันการเกิดต้อกระจก 

สำหรับการป้องกันการเกิดต้อนั้นมีอะไรบ้างมาดูพร้อมๆ กันเลย 

1.สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสียูวี 

สำหรับสิ่งแรกที่หลายๆ คนอาจจะไม่รู้มาก่อนก็คือการสวมแว่นกันแดดสำหรับป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเลต จะช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อได้เป็นอย่างดี 

2.กินอาหารที่มีประโยชน์ 

สำหรับการกินอาหารที่มีประโยชน์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ วิตามินอีและวิตามินซีซึ่งช่วยในการบำรุงสายตา และการรับประทานวิตามินเสริมเองก็ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าลดความเสี่ยงในการเกิดต้อได้มากหรือน้อยเพียงใด 

3.ตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี 

สำหรับการตรวจสายตาเป็นประจำทุกปีถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม อาจจะกล่าวได้ว่าการตรวจสายตาเป็นประจำจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างแน่นอน 

และนี่ก็คือวิธีการแก้ไขปัญหาสายตาที่ไม่ว่าใครก็ควรใส่ใจ อาจจะกล่าวได้ว่าการแก้ไขปัญหาสายตาหรือต้อกระจกที่ดีที่สุดก็คือการหันมาใส่ใจดวงตาของคุณตั้งแต่วันนี้เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตอย่างสบายใจและปลอดโรคนั่นเอง 

ยารักษาโรคซึมเศร้า คืออะไร แล้วมีอะไรบ้าง?

Posted on Category:Medical
ยารักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า หรือชื่อภาษาอังกฤษ Depression เป็นโรคทางจิตเวชที่พบในอันดับต้นๆ และในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่เรื่อยๆ และมีเกณฑ์ว่าจะพบจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโรคนี้เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการฆ่าตัวตายสูงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นวันนี้เรามารู้จักกับโรคซึมเศร้า และยารักษาโรคซึมเศร้ามาฝาก

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย แต่คนส่วนใหญ่รู้เข้าใจว่าโรคซึมเศร้าก็มักจะนึกถึงอาการหรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไป จึงคิดว่าโรคซึมเศร้าความผิดหวัง หรือการได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ และจะสามารถรักษาหรือแก้ไขได้ด้วยการให้กำลังใจ และให้พลังบวก

ซึ่งในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ เพราะนอกจากจะต้องบำบัดอย่างถูกวิธีแล้ว ยังอาจจะต้องใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย

การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา

การใช้ยารักษาสำหรับโรคซึมเศร้า (Antidepressant) เป็นวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่ทางแพทย์นิยมใช้กับผู้ป่วย ซึ่งตัวยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่เป็นยาที่เข้าไปช่วยในการปรับสมดุลระบบประสาทในสมอง ที่ช่วยควบคุมอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งจะช่วยให้อาการซึมเศร้าลงลด ทั้งนี้ยาที่สามารถเข้ามาช่วยปรับสมดุล 3 สารด้วยกัน ได้แก่ 

  • สารนอร์อิพิเนฟริน (Noradrenaline) เป็นสารที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการตื่นตัว ช่วยสร้างความกระตือรือร้น แถมยังช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
  • สารโดปามึน (Dopamine) เป็นสารที่ช่วยควบคุมความรู้สึก ช่วยกระตุ้นกระบวนการรู้สึกนึกคิด และระบบการสั่งการการเครื่อนไหวของร่างกาย
  • สารเซโรโทนิน (Serotonin) สารที่ช่วยในเรื่องการนอนหลับให้เป็นปกติ ช่วยควบคุมระบบย่อยอาหาร ความรู้สึกอยากอาหาร ลดอาการเบื่ออาหาร รวมถึงอารมณ์ทางเพศ ช่วยควายคุมความรู้สึกโกรธ และความรู้สึกก้าวร้าว 

ทั้งนี้ยาในกลุ่มของโรคซึมเศร้าจะมีทั้งยาของกลุ่ม

ยากลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitors (MAOIs) เป็นยาช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โมโนเอมีน ออกซิเดส (Monoamine oxidase) เพื่อให้สารสื่อประสาทในสมองสามารถทำงานเพื่อยับยั้งอาการซึมเศร้าได้

ยากลุ่ม Tricyclic Antidepressants (TCAs) เป็นยาช่วยดูดซึมสารสื่อประสาทนอร์อีพิเนฟริน และสารเซโรโทนินให้กลับเข้าสู่เซลล์ประสาท แบ่งตามโครงสร้างเคมีของยาได้เป็น

1. ยาชนิดเอมีนตติยภูมิ (Tertiary amine) ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) ยามิพรามีน (Imipramine) โคลมิพรามีน (Clomipramine) ด็อกเซปิน (Doxepin) และไทรมิพรามีน (Trimipramine)

2. ยาชนิดเอมีนทุติยภูมิ (Secondary amine) ได้แก่ นอร์ทริปไทลีน (Nortriptyline) และเดซิพรามีน (Desipramine)

ยาคลายกล้ามเนื้อ ใช้บ่อยอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย

Posted on Category:Medical
ยาคลายกล้ามเนื้อ

สำหรับเหล่านักกีฬา ผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย หรือผู้ที่มักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ คงรู้จักยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ใช้ยาตัวนี้คือผู้ที่มีปัญหาปวดเมื้อยกล้ามเนื้อ ซึ่งบางคนที่ทานยาตัวนี้เป็นประจำ และทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งมีผลข้างเคียงและอันตรายอย่างมาก หากทานยาประเภทนี้บ่อย เพราะฉะนั้นวันนี้เราเลยมีคุณสมบัติของยาประเภทนี้มาให้ และมีผลข้างเคียงที่อาจส่งผลได้ ซึ่งเราเตรียมข้อมูลให้คุณแล้ว

คุณสมบัติของยาคลายกล้ามเนื้อ (Tolperisone)

ยาคลายกล้ามเนื้อคือยาที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดเฉียบพลันจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อส่วนคอ กล้ามเนื้อส่วนหลัง กล้ามเนื้อส่วนแขน ขา หรือกล้ามเนื้อข้อต่อตามส่วนต่างๆ ที่เกิดการปวดจากการบาดเจ็บ อย่างเช่นการออกกำลังกายอย่างหักโหม การทำงานผิดท่า หรือเกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นต้น 

  • ยาคลายกล้ามเนื้อบรรเทาอาการปวด ที่เกิดจาการตึงหรือเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • มีผลต่อสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้กล้ามเนื้อคคลายตัว
  • แตกต่างจากยาในกลุ่มรักษาโรคไขกระดูกที่กล้ามเนื้อมีการเกร็งตัวและกลุ่มยาดมสลบก่อนการผ่าตัด
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไม่มีข้อบ่งใช้สำหรับยาชนิดนี้

ทั้งนี้การทานยาคลายกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง สำหรับคนที่ทานยาคลายกล้ามเนื้ออยู่บ่อยๆ เพราะจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาหารปวด ต้องใช้ยาหลายกลุ่มควบคู่ไปด้วย โดยขั้นตอนแรกอาจใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อทำการลดอาการปวดก่อน เพราะบางคนทานยาพาราเซตามอลก็ช่วยบรรเทาอากาารปวดแล้ว แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น อาจเปลี่ยนมาเป็นยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ จากนั้นจึงค่อยใช้ยาลดการอักเสบ เพราะยาลดการอักเสบจะออฤทธิ์ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์สารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ซึ่งปกติถ้าทานแล้วอาการจะทุเลาลงตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง 

ยาคลายกล้ามเนื้อส่งผลเสียต่อร่างกาย

หากทานยาคลายกล้ามเนื้อเป็นประจำ อาจทำให้ร่างกายรู้สึกมึนงง ง่วงซึม ท้องผูก ปากแห้ง คอแห้ง ทั้งนี้ยาคลายกล้ามเนื้อจึงไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร ผู้ที่ขับขี่รถยนต์ และผู้ที่ทำงานที่ต้องใช้สมาธิสูง ดังนั้นหากทายยาคลายกล้ามเนื้อเป็นจำนวนมากเกินความต้องการของร่างกาย อาจทำให้เกิดการมึนงง ง่วงซึม และอาจเป็นอันตรายต่อผู้ทานยาคลายกล้ามเนื้อแทน

ทั้งนี้หากคนที่ไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ ก็ไม่ควรทานยาประเภทนี้ หรือถ้าอาการปวดเริ่มทุเลาลง คุณก็ไม่จำเป็นต้องกินยาต่อเนื่อง รวมถึงผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาต่อเนื่อง หากลืมกินยาสามารถกินได้ทันทีเมื่อนึกขึ้นได้ และไม่ต้องเพิ่มขนาดของยา แต่ข้อควรระวังของยาประเภทนี้คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่ควรทานยาประเภทนี้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ หากมีอาการเหล่านี้แนะนำให้ปรึกษากับทางแพทย์จะดีกว่า 

ยาอันตรายที่ไม่ควรซื้อมาใช้เอง

Posted on Category:Medical
ยาอันตราย

ในยุคปัจจุบัน อาการเจ็บไข้ได้ป่วยของผู้คนมักจะหายไปด้วยการซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะในวัยสูงอายุที่ไม่อยากจะไปพบแพทย์ด้วยตนเอง รวมถึงวัยทำงานที่ไม่มีเวลาจะไปพบแพทย์ ซึ่งยารักษาอาการทั่วไปปรึกษาเภสัชกรที่ขายอยู่ในร้านขายยา แต่จะเป็นการรักษาอาการเบื้องต้นเท่านั้น ถ้าจะให้ทราบชัดเจนว่าเจ็บป่วยด้วยสาเหตุใด ก็ควรจะไปพบแพทย์ เนื่องจากยาบางชนิดเป็นยาที่อันตราย ถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ซึ่งยาอันตรายที่ไม่ควรซื้อมารับประทานเองนั้น ก็เห็นจะเป็นยาปฏิชีวนะ ที่จะต้องผ่านการสั่งจากแพทย์ก่อนที่จะให้กับผู้ป่วย 

ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาต้านแบคทีเรีย เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ ใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง ตัวอย่างยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลิน อะม็อกซีซิลิน เตตร้าซัยคลิน เลโวฟล็อกซาซิน องค์การเภสัชกรรม เตือนผู้ที่นิยมซื้อยาปฏิชีวนะรับประทานเอง และรับประทานบ่อยเกินความจำเป็น อาจเสี่ยงต่อการดื้อยาสูงและแพ้ยาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มยาปฏิชีวนะเข้าสู่ร่างกายโดยเปล่าประโยชน์ โรคที่เป็นอยู่ก็ไม่หาย โดยองค์การเภสัชกรรมแนะนำว่า ต้องกินยาอย่างถูกวิธี ต่อเนื่องจนครบ ซื้อยาจากร้านที่มีเภสัชกรประจำร้านดูแล สามารถให้คำแนะนำการใช้ยา และที่สำคัญที่สุดคือการมาพบแพทย์ในสถานพยาบาล เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

ซึ่งหลายๆ คนนั้นเข้าใจผิดว่ายาปฏิชีวนะคือยาแก้อักเสบ แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ เนื่องจากยาปฏิชีวนะจะเป็นยารักษาโรคที่มีสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 

ผลเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะเกินจำเป็น 

  1. ชื้อแบคทีเรีย จะปรับตัวให้ทนต่อยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เชื้อดื้อยา
  2. เกิดการทำลายเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  3. เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ผื่นคัน หรือลมพิษ เป็นต้น
  4. อาจทำให้ฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ หรือยาอื่น ๆ ที่รับประทานอยู่เพิ่มขึ้นจนเกิดผลข้างเคียงที่มากขึ้น หรือลดลง จนไม่ได้ผลในการรักษา

ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจะต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์และเภสัชกรก่อนเสมอ เพราะนอกจากอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะอีกหลายประการ เช่น การมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นโรคตับ หรือโรคไต จำเป็นต้องเลี่ยงการใช้ยาบางประเภท หรืออาจต้องปรับขนาดยาให้เหมาะสมตามอายุของผู้ป่วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีประวัติแพ้ยาบางชนิด การแจ้งแพทย์และเภสัชกรให้ทราบว่าตนเองแพ้ยาชนิดใด จะปลอดภัยกับตัวผู้ป่วยอย่างสุดสูง